ฟีฟ่ายืนยัน ไม่ลดค่ายิงสดบอลโลก

ฟีฟ่ายืนยัน

โดยวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน สำนักอัยการสูงสุดเรียกฝ่ายกฎหมายของ กกท. ไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องข้อกฎหมายทุกประเด็น

ฟีฟ่ายืนยัน ไม่ลดค่ายิงสดบอลโลก ตอกหน้าไทยจะซื้อถูก ต้องซื้อเมื่อ 2 ปีก่อน

ฟีฟ่ายืนยัน ไม่ลดค่ายิงสดบอลโลก ตอกหน้าไทยถ้าอยากได้ถูก ต้องซื้อตั้งแต่ 2 ปีก่อน ความคืบหน้าการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุด

ความคืบหน้าการซื้อลิขสิทธิ์ ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้าย ที่ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน-18 ธันวาคม หลังจากคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติอนุมัติเงินสนับสนุน จากกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ในกรอบวงเงิน 600 ล้านบาท จากจำนวนเต็ม ที่กกท. เสนอขอรับการสนับสนุนไป 1,600 ล้านบาท ทำให้ กกท. ต้องหาภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนอีก 1,000 ล้านบาทนั้น

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแนวทางที่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำเสนอว่า จะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน เพื่อขอยืมเงิน จากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ มาสมทบ ในการไปซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ก่อน แล้วนำเงินจากภาคเอกชน ที่หามาได้ หลังจากนี้มาคืนให้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ นั้นเป็นเพียงแนวคิดก่อนหน้านี้ ซึ่ง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ไม่เห็นด้วย ดังนั้นในการประชุม ครม. วันที่ 15 พฤศจิกายน จะไม่มีการนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุม ครม

ส่วนความคืบหน้า ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน ยังไม่มีความชัดเจน เพราะฟีฟ่า ยังไม่ตอบกลับมาว่า จะยอมลดราคาให้กับประเทศไทยได้เท่าไหร่ ต้องรอจนถึงวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ แล้วสิ่งที่กังวลคือ ระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน เป็นวันหยุด ในโอกาสไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสัปดาห์ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอีก จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เวลานี้คนที่หนักใจที่สุดคือ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. ที่เร่งเคลียร์เรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ให้จบด้วยดี และเร็วที่สุด

โดยวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน สำนักอัยการสูงสุด เรียกฝ่ายกฎหมายของ กกท. ไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องข้อกฎหมายทุกประเด็น ขณะเดียวกัน ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. ต้องไปเซ็นเอ็มโอยู กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในงบประมาณที่ได้รับอนุมัติช่วยมาส่วนหนึ่ง 600 ล้านบาท

รายงานข่าว แจ้งต่อไปอีกว่า เวลานี้มีเงิน 600 ล้านบาทจาก กสทช. และ 400 ล้านบาทจาก 3 บริษัทเอกชนสนับสนุนเพิ่มเติม ให้ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่วนอีก 2 บริษัทได้แก่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จํากัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) นั้น ทาง กกท. ส่งหนังสือขอรับการสนับสนุน เข้าไปเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และติดวันเสาร์-อาทิตย์ จึงยังไม่มีการตอบกลับมา

“ตอนนี้เรามีเงินอยู่ 1 พันล้านบาท ท่าทีฟีฟ่าล่าสุด คือ ไม่ยอมลดราคาให้เหลือ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบอกว่า ถ้าเราจะซื้อในราคาที่ถูกกว่า 38 ล้านเหรียญสหรัฐ เราต้องซื้อเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เวลานี้ฟีฟ่า ยืนกรานว่า ไม่ยอมขายแพคเก็จย่อยคือ ซื้อตั้งแต่รอบ 2 หรือรอบ 16 ทีมสุดท้ายให้เรา บังคับให้เราซื้อฟูล แพคเก็จ 64 แมตช์เท่านั้น แต่เราได้รีเควส ขอลดราคาเข้าไปซึ่งฟีฟ่า ยังนิ่งไม่มีการตอบอีเมลกลับมาแต่อย่างใด คงต้องรอวันจันทร์” รายงานข่าวแจ้ง

รายงานข่าว แจ้งอีกว่า กระบวนการขั้นตอนที่ฟีฟ่า ขีดเส้นตายไว้คือ ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน เราต้องปิดดีลกับฟีฟ่าให้สำเร็จว่า จะซื้อในราคาเท่าไหร่ แพคเก็จไหน คนไทยจะได้ดูฟูล 64 แมตช์ หรือตั้งแต่รอบที่ 2 หรือรอบ 16 ทีมสุดท้ายในเวลานี้ยังไม่สามารถยืนยันได้แบบ 100 % จากนั้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน ก่อนเตะนัดแรกฟุตบอลโลก 2022 เราจะต้องโอนเงินทั้งหมดไปให้ฟีฟ่า พร้อมภาษี 15 %

ตอนนี้มี 2 ทางเลือกในเวลานี้คือ 1. ยอมซื้อในราคา 1,600 ล้านบาท ซึ่งเราก็จะโดนด่าว่าซื้อแพง กับข้อ 2. ไม่ซื้อเลย เราก็จะไม่ต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปซื้อซึ่งเราก็จะโดนด่าเช่นกันว่า ทำไม่สำเร็จ แต่ตอนนี้ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน ยืนยันได้ว่า โอกาสที่คนไทยจะได้ดูการถ่ายทอสดฟุตบอลโลก 2022 มีมากกว่า 50 % อยากให้รอความชัดเจนกันอีกหน่อย

Credit มติชนออนไลน์

จำนวนคนดู 6